วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


สมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2394 - 2475
1. ด้านการปกครอง
รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว เช่น ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จพระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง" แบ่งเป็น 2 ระยะ คืด ตอนต้นรัชกาล และตอนปลายรัชกาล
การปรับปรุงการปกครองประเทศในตอนต้นรัชกาล
ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า " เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้
การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง
ส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า "กระทรวง" แทน และได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ
1. กระทรวงมหาดไทย 2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงต่างประเทศ 4. กระทรวงวัง
5. กระทรวงเมือง (นครบาล) 6. กระทรวงเกษตราภิบาล
7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงธรรมการ 10. กระทรวงโยธาธิการ
11. กระทรวงยุทธนาธิการ ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงกลาโหม)
12. กระทรวงมุรธาธิการ ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงวัง)
ส่วนภูมิภาค
ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย มี การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ
การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ.2325 - 2435
สภาพทางการเมืองยังคงรูปแบบของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รูปแบบของสถาบันกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม

พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง การปกครองและการบริหารประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมือง ทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง แบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย
นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น ตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง
การปกครองในประเทศราช ใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น ได้แก่ การนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรม และ ให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น เป็นต้น

มูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. มูลเหตุภายใน
- ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น
- การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
- การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง
2. มูลเหตุภายนอก
- หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคม

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี


อาณาจักรธนบุรี
เป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325 มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังจากที่อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการปล้นกรุงศรีอยุธยาของกองทัพพม่า ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

การกอบกู้เอกราช

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย" และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี

การปกครอง
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่
กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน
กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย
กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของประชาชน
การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ
การสิ้นสุด
ช่วงปลายรัชกาล เกิดการรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีทราบข่าวก็รีบกลับมายังพระนคร เมื่อสืบสวนเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ข้าราชการก็ฟ้องร้องว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเหตุ เนื่องจากทรงมีสติฟั่นเฟือน ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325 เจ้าพระยาจักรีจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี