วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา



การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น

การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน
ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี) กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)

ส่วนที่ 2) การปกครองส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
1. เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
2. หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
3. หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
4. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้
ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง

ช่วงที่ 1 เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึงและเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยกทหารและพลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและหัวเมือง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แยกการปกครองส่วนกลางเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือนทหาร มีสมุหกลาโหมดูแล ส่วนพลเรือนมีสมุหนายกดูแล สมุหนายกมีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายกดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช สมุหกลาโหมมีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหารทั้งในราชานีและหัวเมือง และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของสมุหนายกอัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี
การปฏิรูปส่วนหัวเมือง แยกเป็น 3 ส่วน

หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม

ช่วงที่ 2 ตรงกับสมัยพระเพทราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้ สมุหกลาโหมดูแล
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม ส่วนสมุหนายก ยังคงเหมือนเดิม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง

เข้าใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง

สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ตลอดจนสิ้นอยุธยา

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ
1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย



นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง วั น วิ ส า ข บู ช า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไทย

วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยสุโขทัย

สุโขทัย หมายถึง รุ่งอรุณแห่งความสุข ของชาวไทยในอดีตเมื่อ 700 ปี ที่ผ่านมา เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีความ อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว การเกิดขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย นับว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานของชาติไทยในสุวรรณภูมิ อย่าง เป็นปึกแผ่น และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ด้านการปกครอง
สมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้ ทรงเป็นแบบอย่างระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันแสดงให้เห็นว่า เมืองไทยได้เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นพระประมุขของชาติ หลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกชี้ให้เห็นชัดว่า ในสมัยพ่อขุนรามไม่มีคำว่า "ทาส" แต่จะเรียกเหล่าประชาชน ทั้งหลายว่า "ลูกบ้าน ลูกเมือง" "ฝู่งท่วย (ทวยราษฎร์)" "ไพร่ฟ้าข้าไท" "ไพร่ฟ้าหน้าปก" "ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนทุกคน มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นในการออกว่าราชการงานเมืองของพ่อขุนรามคำแหง กลางป่าตาลได้อย่างเสรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระบบพ่อปกครองลูก" ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า
"หัวพุ่ง หัวรบ ก็ดีบ่ฆ่า บ่ตี ในปากปูตมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..."
การปกครองในแบบพ่อกับลูก นับเป็นคุณธรรมของพ่อเมือง จึงทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ด้วยกรุงสุโขทัย เป็นแคว้นใหญ่ มั่นคง และเข้มแข็ง เป็นที่รับรู้กันในแผ่นดินไทยและชาวต่างประเทศ เช่น จีน และแคว้นอื่น ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดังมีหลักฐานตามเอกสารจีนบันทึกไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 1835 ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ ปี พ.ศ. 1866 รัชสมัยพระเจ้าเลอไท ไทยได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้งด้วยกัน โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จักรพรรดิ์จีน รวมทั้งได้เคยขอม้าขาว และของอื่น ๆ จากจีน เป็นการตอบแทนด้วย
ด้านพุทธศาสนาพ่อขุนรามคำแหง ทรงอัญเชิญพระพุทธศาสนา
ลัทธิลังกาวงศ์
จากเมืองนครศรีธรรมราช มาปลูกฝังไว้ที่เมืองสุโขทัย และทรงทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของเมืองไทย จนเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้
นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงคิดประดิษฐ์
ลายสือไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 1826 ทำให้ชนชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็น เอกลักษณ์ของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
การสงครามของอาณาจักรสุโขทัย

ในแผ่นดินของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ราวปี พ.ศ. 1800 เมืองตาก (เมืองหน้าด่านทิศตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัย) ได้ถูกขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกกองทัพเข้าล้อมเมืองตากไว้ เจ้าเมืองตากจึงขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกกองทัพไปช่วย และมีพระราชโอรสองค์เล็ก ชื่อ เจ้าราม ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ติดตามไปรบในครั้งนี้ด้วย
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ได้ยกพลเข้าตีเมืองหลายครั้ง แต่มิอาจตีเมืองได้ จึงตั้งค่ายล้อมเมือง ถ่วงเวลาไว้ให้ไพร่พลเมืองตาก ขาดแคลนเสบียงอาหาร เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพสุโขทัยกำลังเดินทัพมาช่วยเมืองตาก ขุนสามชนจึงได้จัดกำลังออกไปดักซุ่มโจมตีกองทัพสุโขทัยที่ " หัวขวา " แนวป่าเชิงเขา นอกเมืองตาก ซึ่งเป็นช่องเขาที่กองทัพสุโขทัยเดินผ่าน แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าลักษณะภูมิประเทศมีสภาพเป็นที่คับขัน จึงมิให้กองทัพเดินผ่าน แต่อ้อมไปทาง " หัวซ้าย" ขุนสามชนที่ซุ่มรออยู่นานไม่เห็นกองทัพสุโขทัยผ่านมา และได้ข่าวว่ากองทัพสุโขทัย อ้อมทัพไปทาง "หัวซ้าย" จึงยกพลตามไปจนทัน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า...." "ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ" มาศเมือง" จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรส ได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างเข้ารับมือไว้ " และได้ชนช้างกับขุนสามชน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "กูบ่หนี กูขี่ช้าง เนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน" และการทำ
ยุทธหัตถี
ครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยกลับเมืองฉอดไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงทรงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า "พระรามคำแหง" ดังปรากฏตามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "ตนกูพู่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาศเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อ พระรามคำแหง เพือกูพู่งช้างขุนสามชน" จนถึงรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหง เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำสงครามเพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไป อย่างกว้างขวาง ด้วยการกระทำใน 2 วิธี คือ
1. ใช้กำลังทางทหาร ดังจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
ปราบเบื้องตะวันตก รอดสรลวง สองแคว ลุม บาจาย สคา ท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นทีแล้ว เบื้องหัวนอน รอดคุณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี สรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง......หงสาพดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว
2. ใช้วิเทโศบายขยายอาณาเขต ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสุขุมและแยบยลที่สุด เพราะไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อไพร่พล แต่อย่างใด ดังได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก และพงศาวดารว่า การขยายอาณาเขตด้านตะวันตก ถึงเมืองหงสาวดี ด้วยการได้ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญไว้เป็นราชบุตรเขย และในด้านทิศเหนือก็ทรงผูกมิตรไมตรีกับพระยาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ
พระยางำเมือง ซึ่งเป็นไทยเชื้อสายเดียวกัน
3. ใช้นโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศใหญ่ ๆ เช่น ประเทศจีน ซึ่งในห้วงเวลานั้น กุบไลข่าน กษัตริย์จีน มีอำนาจมาก ได้แผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ของจีน ทางด้านพม่า และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด

อวสานกรุงสุโขทัย
[[ในรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมือง เป็นเวลาที่ไทยตั้งตัวใหม่ ๆ ต้องทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอม สามิภักดิ์ โดยพ่อขุนรามคำแหง นำทัพออกปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ต่าง ๆ ที่อยู่ชายพระราชอาณาเขต อาณาจักรของกรุงสุโขทัย จึงตกอยู่ในความสงบสุขตลอดมา
จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพ่อขุมรามคำแหง ขึ้นครองราชย์ ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง เจริญรุ่งเรืองกว่ารัชกาล อื่น ๆ ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต
พระเจ้าเลอไท
พระราชโอรสได้ครองราชสมบัติ ปรากฏตามพงศาวดารพม่าได้กล่าวไว้ว่า "เมื่อ พ.ศ. 1873 หัวเมืองมอญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนราม กลับเป็นขบถตั้งแข็งเมือง พระเจ้าเลอไท ส่งกองทัพออกไปปราบปราม แต่ไม่สามารถเอาชนะได้"
ต่อมา
พระยาลือไท ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเลอไท พระราชบิดา ทรงพระนามว่า "พระมหาธรรมราชาลิไทย" เป็นกษัตริย์ที่ทรงมุ่งทำนุบำรุงอาณาจักรสุโขทัย แต่ในทางธรรมอย่างเดียว ทำให้สุโขทัยขาดความเข้มแข็ง จนไม่สามารถควบคุมประเทศราชไว้ได้ ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงตั้งแข็งเมืองและประกาศอิสรภาพ ไม่ยอมขึ้นกับกรุงสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 เป็นต้นมา ขุนหลวงพะงั่ว เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมา และได้ส่งกองทัพมาทำสงครามตีเมืองต่าง ๆ 7 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1914-1921 แต่ไม่สามารถตีหักเข้าเมืองได้ จนกระทั่ง "พระเจ้าไสยลือไท" (พระมหาธรรมราชาที่ 2) ขึ้นครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาจึงยกกองทัพไปตีเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ซึ่งพระเจ้าไสยลือไทย เสด็จมาบัญชาการรบเอง จนขุนหลวงพะงั่วไม่สามารถตีหักเอาเมืองได้ แต่ต่อมาทรงพระราชดำริว่า '"ถ้าหากขืนรบต่อไปก็คงเอาชนะกองทัพของขุนหลวงพะงั่วไม่ได้" จึงทรงยอมอ่อนน้อมต่อขุนหลวงพะงั่วโดยดี และนับแต่นั้นมา กรุงสุโขทัยก็สูญเสียเอกราช กลายเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาตลอดไป
นายชานนท์ คงหนู ม.4/5 เลขที่ 11